วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พัฒนาการทางการพูด ของเด็กวัย 1-5 ปี

พัฒนาการทางการพูด  ของเด็กวัย  1-5 ปี


เพ็ญแข   ประจนปัจจนึก  กล่าวถึง พัฒนาการทางการพูดของเด็กวัย 1-5 ปี ดังนี้
                1. ระยะอ้อแอ้ (Babbling) จะเริ่มเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 3 เดือน และจะเห็นชัดเมื่อเด็กอายุ
6 เดือนไปแล้ว เด็กจะอ้อแอ้ทั้งเวลามีคนอื่นอยู่ด้วยและเวลาอยู่คนเดียว
                2. ระยะเล่นเสียง (Vocal Play) คือการที่เด็กทำเสียงสูงต่ำประกอบไปด้วย พบในระยะอายุ
ประมาณ 6-8 เดือน
                3. ระยะเลียนเสียง (Jargon Stage) เป็นลักษณะการพูดของเด็กระยะก่อน 2 ขวบ คือการที่
เด็กเลียนแบบเสียงพูดของผู้ใหญ่ ถ้าฟังเผินๆ คิดว่าเด็กพูดได้เป็นประโยคยาวๆ แต่ที่จริงแล้วไม่มีความหมาย
                4.ระยะการพูดย่อๆ หรือการพูดคลุมความหมาย เกิดขึ้นระยะอายุ 2 ขวบขึ้นไป เด็กจะนำคำ
มารวมกันพูดสั้นๆ การเรียงคำอาจสลับสับสน และส่วนใหญ่จะมีเสียง 2 หรือ 3 คำเท่านั้น เช่น แมว
ไหนเป็นต้น หรือตัดคำให้เหลือคำเดียวเช่น ไป
                5. การใช้ท่าทาง (Gestures) เกิดในช่วงที่เด็กยังไม่สามารถจะใช้คำพูดบอกความต้องการได้
จึงใช้ท่าทางเพื่อทดแทนภาษา แต่หลังจาก 2 ขวบไปแล้ว เด็กจะใช้ท่าทางน้อยลงไปเป็นลำดับ

อ้างอิงจาก
                เพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (...). เด็กก่อนวัยเรียน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น