ความเข้าใจภาษา ของเด็ก
เฮอร์ลอค ศึกษาเกี่ยวกับความเข้าใจภาษา สรุปได้ดังนี้
1. ความเข้าใจภาษาที่ผู้อื่นพูด (Comprehension) เป็นความสามารถที่จะเข้าใจคำพูดของผู้อื่น ต้องอาศัยความรู้ศัพท์ต่างๆ เป็นพื้นฐาน ทำนองเดียวกับที่ผู้เรียนเรียนภาษาต่างประเทศ
ก็ต้องรู้ศัพท์มากพอควร จึงจะจับความได้ และอาจเข้าใจภาษาก่อนจะพูดได้เด็กก็เช่นกัน
เด็กอาจเข้าใจท่าทางการพูด การกระทำ แต่อาจไม่เข้าใจคำประโยคที่พูด
ในการพัฒนาความเข้าใจนั้น เด็กอาจมีการตอบสนองต่อทั้งลีลาการพูดและสำเนียงที่เขาได้ยินในสภาพการณ์ต่างๆ
เด็กจะเรียนรู้ความหมายของ
คำจาก สถานการณ์จากท่าทาง เช่น การยิ้ม สุ้มเสียงที่พูด
2. การเรียนรู้คำศัพท์ (Vocabulary Learning) พิจารณาได้
2 ด้าน คือ
2.1 คำศัพท์ทั่วๆ ไป ได้ลำดับขั้นของคำศัพท์ไว้ดังนี้
2.1.1
คำนาม เป็นคำแรกของเด็ก ซึ่งเกิดจากการเล่นเสียง
2.1.2
คำกริยา หลังจากที่เด็กได้เรียนรู้คำนามเพียงพอที่จะไปใช้เรียกชื่อคน
และสิ่งของในสภาพแวดล้อมได้แล้ว เขาก็เริ่มที่จะเรียนรู้คำศัพท์โดยเฉพาะคำศัพท์ที่เป็นการแสดงท่าทางเช่น ให้ เอาไป และถือไว้
2.1.3
คำคุณศัพท์ จะปรากฏให้เห็นได้ในราวขวบครึ่ง คำคุณศัพท์ง่ายๆ ที่ใช้
ในเริ่มแรกได้แก่ “ดี” “เลว” “ซน” “ร้อน” และ “หนาว” ซึ่งจะใช้กับบุคคล อาหาร และของเล่น
2.1.4
คำกริยาวิเศษณ์ เด็กจะรู้จักใช้พร้อมๆ กับคำคุณศัพท์คำกริยาวิเศษณ์ทีใช้ทั่วๆ ไป ก็มี “ที่นี้” และ “ที่ไหน” ในช่วงสองปีแรกเด็กเรียนรู้คำศัพท์ได้ช้า หลังจากนั้นในระยะก่อนเข้าเรียนจะเรียนรู้เร็วขึ้น และจะเรียนรู้อย่างรวดเร็วหลังจากเข้าโรงเรียนแล้ว
ทั้งนี้เนื่องจากได้รับการสอนโดยตรงจากครู และจากการได้พบเห็นสิ่งต่างๆ มากขึ้น
ผลจากการศึกษาค้นคว้าของนักจิตวิทยาหลายท่านพบว่า โดยเฉลี่ยเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 จะรู้จักคำประมาณ
20,000-24,000 คำ หรือ 5-6%ของคำในพจนานุกรม ครั้นโตถึงชั้น ป.6 เด็กรู้จักคำศัพท์ประมาณ
50,000 คำ และราว 80,000 คำหรือ 22% ของคำในพจนานุกรมฉบับมาตรฐานสำหรับเด็กที่เริ่มเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ซึ่งจำนวนคำศัพท์ที่เด็กเรียนรู้ ส่งผลถึงภาษาพูดของเด็ก
2.2 ศัพท์เฉพาะ 7 ลักษณะ คือ
2.2.1
ศัพท์เกี่ยวกับสี เด็กทั่วไปจะรู้จักชื่อชั้นต้นในราว 4 ขวบ และจะเรียนรู้ในสีอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความสนใจเรื่องสีและโอกาสที่จะเรียนรู้สี
2.2.2
ศัพท์เกี่ยวกับจำนวนมาตราวัดเชาว์ปัญญาของ สแตนฟอร์ด บิเนต์(Stanford Binet) เด็ก 5 ขวบ สามารถที่จะนับสิ่งของได้ถึง
3 เด็ก 6 ขวบ จะเข้าใจคำว่า “สาม” “เก้า” “ห้า” “สิบ” และ “เจ็ด” ดีพอที่จะนับแท่งลูกบาศก์ได้
2.2.3
ศัพท์เกี่ยวกับเวลา เด็กอายุ 6-7 ขวบ จะรู้ความหมายของเวลา
ตอนเช้า ตอนบ่าย ตอนกลางวัน ฤดูร้อน และฤดูหนาว
2.2.4
ศัพท์เกี่ยวกับเงิน เด็กอายุ 4-5 ขวบ เริ่มที่จะรู้ค่าของเหรียญตามลักษณะขนาดและสีของเหรียญ
2.2.5
ศัพท์แสลง ช่วงระหว่าง 4-8 ขวบ เด็กส่วนมากโดยเฉพาะเด็กชายใช้ศัพท์แสลงแสดงออกทางอารมณ์และทำตามกลุ่มเพื่อน
2.2.6
ศัพท์คำสบถ สาบาน คำสาบานส่วนมากเด็กชายจะเป็นผู้ใช้ เริ่มในวัยเข้าเรียน เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้ตนเองว่าโตแล้ว เพื่อทดแทนความรู้สึกที่เป็นปมด้อย
และเพื่อ
ดึงดูดความสนใจ
2.2.7
ศัพท์ลับเฉพาะ เด็กหญิงเกือบทุกคนจะใช้ภาษา เฉพาะหลังจากอายุ
6 ขวบ เพื่อใช้สื่อสารกับเพื่อน
3. การสร้างประโยค (Forming Sentences) เมื่อเด็กเริ่มพูดเป็นประโยค
ก็มักทำโดยเอาคำมาต่อกัน ซึ่งเด็กจะเริ่มทำได้ก่อนอายุ 2 ขวบ ระยะแรกๆ ก็มักใช้คำเดียวก่อนอาจเป็นคำนามหรือกริยามาประกอบกับท่าทาง เมื่อเด็กอายุ 2 ขวบ เด็กจะรวมคำมาต่อเป็นประโยคแต่ไม่สมบูรณ์
ประโยคมักประกอบด้วยคำนาม และคำกริยา บางครั้งอาจมีคำคุณศัพท์หรือกริยาวิเศษด้วย
เมื่ออายุ 4 ขวบ เด็กพูดเป็นประโยคได้เกือบสมบูรณ์ และรู้จักใช้คำเกือบทุกชนิด
พออายุ 6 ขวบ เด็กรู้จักใช้ประโยคเกือบทุกแบบประโยคที่ใช้ตอนแรกๆ มักเป็นประโยคง่ายๆ และค่อยๆ
ซับซ้อนขึ้นตามลำดับ
4. การออกเสียง (Pronunciation) เด็กจะเลียนเสียงตามที่ตนได้ยิน ดังจะเห็นได้ว่า เด็กจะพูดภาษาได้ตามลักษณะภาษาที่ตนได้ยินมาจากสิ่งแวดล้อม ในช่วงอายุ 12-18 เดือน เด็กส่วนมากมักพูดฟังไม่รู้เรื่องนอกจากคนใกล้ชิดในช่วงอายุ 18-36 เดือน การออกเสียงดีขึ้นมาก การไม่เข้าใจสิ่งที่เด็กพูดทำให้เข้าใจผิด ไม่รู้ว่าต้องการอะไรแน่ มักทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจได้ง่าย และทำให้เด็กมีพฤติกรรมถอยหลัง คือใช้วิธีร้องไห้เหมือนเมื่อยังเล็กอีกครั้ง โดยปกติหลังวัย 3 ขวบ จะออกเสียงชัดขึ้นแต่ยังมีบางคนยังออกเสียงบางเสียงไม่ชัด เช่น “พ่อ – ป้อ” “ช้าง – ช้าง” “ฉี่ – สี่” เป็นต้น แต่หลังจาก 5-6 ขวบไปแล้วอาการพูดแบบนี้จะค่อยๆ หมดไป เด็กจะพูดชัดเหมือนผู้ใหญ่
4. การออกเสียง (Pronunciation) เด็กจะเลียนเสียงตามที่ตนได้ยิน ดังจะเห็นได้ว่า เด็กจะพูดภาษาได้ตามลักษณะภาษาที่ตนได้ยินมาจากสิ่งแวดล้อม ในช่วงอายุ 12-18 เดือน เด็กส่วนมากมักพูดฟังไม่รู้เรื่องนอกจากคนใกล้ชิดในช่วงอายุ 18-36 เดือน การออกเสียงดีขึ้นมาก การไม่เข้าใจสิ่งที่เด็กพูดทำให้เข้าใจผิด ไม่รู้ว่าต้องการอะไรแน่ มักทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจได้ง่าย และทำให้เด็กมีพฤติกรรมถอยหลัง คือใช้วิธีร้องไห้เหมือนเมื่อยังเล็กอีกครั้ง โดยปกติหลังวัย 3 ขวบ จะออกเสียงชัดขึ้นแต่ยังมีบางคนยังออกเสียงบางเสียงไม่ชัด เช่น “พ่อ – ป้อ” “ช้าง – ช้าง” “ฉี่ – สี่” เป็นต้น แต่หลังจาก 5-6 ขวบไปแล้วอาการพูดแบบนี้จะค่อยๆ หมดไป เด็กจะพูดชัดเหมือนผู้ใหญ่
อ้างอิงจาก
นิรันดร์
รอดเอี่ยม. 2531: 20-23; อ้างอิงจาก
Hurlock. 1978. Child
Development.pp. 185-186
นิรันดร์ รอดเอี่ยม. (2531). การศึกษาพัฒนาการทางภาษาพูดของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาด้วยแบบทดสอบรูปภาพ.
ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ). กรุงเทพฯ:
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น